โรคฝีดาษวานร? เป็นอย่างไร? ติดอย่างไร? ระวังอย่างไร?
ในยุคที่โรคอุบัติใหม่ การให้ความรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรคภัยต่าง ๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ชาวกรุงเทพฯ ทุกคนสามารถดูแลตนเองและคนรอบข้างได้อย่างถูกต้อง วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ "โรคฝีดาษวานร" โรคที่หลายคนอาจยังไม่คุ้นเคย ว่าเราจะป้องกันและรับมืออย่างไรให้ทันท่วงที
โรคฝีดาษวานรคืออะไร?
โรคฝีดาษวานรเกิดจากเชื้อไวรัสที่เป็นญาติใกล้ชิดกับไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษ แม้จะมีความเกี่ยวข้องกันทางพันธุกรรม
แต่อาการของโรคฝีดาษวานรมักจะมีความรุนแรงน้อยกว่า ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสนี้มักจะเริ่มต้นด้วยอาการไข้ ปวดศีรษะ และต่อมน้ำเหลืองโต จากนั้นจะเริ่มมีผื่นขึ้นตามร่างกาย ซึ่งผื่นเหล่านี้จะค่อย ๆ พัฒนาจากผื่นแดงราบ เป็นตุ่มน้ำ ตุ่มหนอง และสุดท้ายจะตกสะเก็ดและหลุดออกไป โดยอาการก่อนช่วงมีผื่น มีดังนี้
มีไข้
ปวดศีรษะ
เจ็บคอ
ต่อมน้ำเหลืองโต
ปวดหลัง
ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
หมายเหตุ ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่มีไข้ บางรายอาจแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 4 วันก่อนเริ่มป่วย
อาการช่วงที่มีผื่น เป็นช่วงที่มีโอกาสแพร่เชื้อ ได้มาก เริ่มจากผื่นแดงราบ เปลี่ยนเป็นผื่นแดงนูน ตุ่มน้ำ และตุ่มหนอง จากนั้นจะตก สะเก็ดและหลุดลอกออกหมด ใช้เวลา 2-4 สัปดาห์
โรคฝีดาษวานรติดต่อได้อย่างไร?
การสัมผัสแนบชิด/อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย สัมผัสผิวหนัง เช่น ตุ่ม ผื่น แผลที่ผิวหนัง
ละอองฝอยขนาดใหญ่ เช่น การพูดคุยในระยะ 1 เมตร โดยไม่สวมหน้ากากอนามัย การจูบ กับผู้ติดเชื้อ เป็นต้น
ระวังโรคฝีดาาวานรได้อย่างไร?
ไม่ควรทำ เสี่ยงโอกาสติดเชื้อ
เลี่ยงใกล้ชิดกับคนที่มีตุ่มหนอง
สัมผัส/ใช้ของ ร่วมกับผู้ป่วย เช่น เสื้อผ้า เครื่องนอน จาน ชาม ช้อน แก้วน้ำ เป็นต้น
นั่งใกล้ชิดกับผู้ป่วย เป็นเวลานานโดยไม่สวมหน้ากากอนามัย เช่น การเดินทางไกลมากกว่า 6 ชั่วโมง อยู่ในสถานที่แออัด เป็นต้น
กลุ่มผู้ป่วยหญิงตั้งครรภ์สามารถส่งผ่านเชื้อสู่ทารกได้
ควรทำ ลดโอกาสติดเชื้อ
เลี่ยงใกล้ชิดกับคนที่มีตุ่มหนอง
แยกของใช้กับผู้ป่วย เช่น จาน ชาม ช้อน แก้วน้ำ เป็นต้น
สวมหน้ากากอนามัยเมื่อต้องเดินทางไกลร่วมกันหรือต้องนั่งข้าง ๆ ผู้ป่วย
กทม. มุ่งมั่นที่จะสร้างกรุงเทพฯ เป็นเมืองแห่งสุขภาพ การเข้าใจโรคฝีดาษวานร วิธีการติดต่อ และการป้องกันตนเอง จะช่วยให้เราทุกคนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปลอดภัยและมั่นใจ เพราะสุขภาพของท่านคือสิ่งที่เราให้ความสำคัญสูงสุด
#สุขภาพดี #โรคฝีดาษวานร #ฝีดาษลิง #Monkeypox #ไข้ทรพิษ #อาการฝีดาษวานร #ติดต่อฝีดาษวานร #ป้องกันฝีดาษวานร #สุขภาพ #กรุงเทพมหานคร #สาธารณสุข
คุณเห็นด้วยกับข่าวนี้หรือไม่
ความคิดเห็น