ป้อมปราบฯ เดินหน้าจัดระเบียบแผงค้าถนนพะเนียง ย้ายผู้ค้าเข้าตลาดใกล้เคียงหลังยกเลิก 8 จุดทำการค้า เล็งปรับโฉมลานกีฬาทรัพย์สินพัฒนา นางเลิ้งรวมใจสู่สวน 15 นาที ชมคัดแยกขยะชุมชนวังแดง พร้อมชวนเข้าร่วมโครงการไม่เทรวม
(14 ม.ค. 68) เวลา 13.30 น. นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในพื้นที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ประกอบด้วย
ตรวจการจัดระเบียบพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน บริเวณถนนพะเนียง ฝั่งวัดโสมนัส มีผู้ค้า 11 ราย ส่วนใหญ่ขายอาหารตามสั่ง เครื่องดื่มชากาแฟ โดยนำรถเข็นและอุปกรณ์ทำการค้ามาตั้งวางประกอบอาหารบนทางเท้า รวมถึงมีการต่อเติมโครงเหล็กหลังคาและผ้าใบกันแดดกันฝนติดกับแนวรั้ววัดโสมนัส ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ พิจารณาหาแนวทางในการจัดระเบียบพื้นที่ดังกล่าว เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขทำการค้าปี 67 ขอความร่วมมือผู้ค้าให้จัดเก็บอุปกรณ์ทำการค้าและทำความสะอาดพื้นที่หลังเลิกทำการค้าในแต่ละวัน เพื่อความสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อยในพื้นที่ ปัจจุบันเขตฯ มีพื้นที่ทำการค้านอกจุดผ่อนผัน จำนวน 4 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 88 ราย ได้แก่ 1.ถนนพะเนียง ฝั่งวัดโสมนัส ผู้ค้า 11 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 09.00-15.00 น. 2.สวนมะลิ 1 ผู้ค้า 11 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-16.00 น. 3.ถนนเจริญกรุง (ตรอกอิสรานุภาพ) ผู้ค้า 54 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-18.00 น. 4.ถนนพลับพลาไชย ผู้ค้า 12 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 06.00-18.00 น. ซึ่งในปี 2567 เขตฯ ยกเลิกจุดทำการค้า 2 จุด ได้แก่ 1.ถนนดำรงรักษ์ ฝั่งโบ๊เบ๊ทาวเวอร์ ผู้ค้า 43 ราย 2.ถนนดำรงรักษ์ ฝั่งกระทรวงพัฒนาสังคม ผู้ค้า 28 ราย ยกเลิกวันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 ต่อมาในปี 2568 เขตฯ ยกเลิกจุดทำการค้าอีก 6 จุด ได้แก่ 1.ถนนเฉลิมเขต 2 ฝั่งธนาคารกรุงไทย ผู้ค้า 4 ราย 2.ถนนยุคล 2 ผู้ค้า 4 ราย 3.ถนนเจริญกรุง (ปากซอยศรีธรรมาธิราช) ผู้ค้า 4 ราย 4.ถนนมหาจักร ตั้งแต่ถนนเจ้าคำรบ ถึงถนนเจริญกรุง ผู้ค้า 27 ราย 5.ถนนเจ้าคำรบ ตั้งแต่ถนนวรจักร ถึงถนนมหาจักร ผู้ค้า 13 ราย 6.วงเวียน 22 กรกฎาคม (หน้าอาคารหมอมี) ผู้ค้า 5 ราย ยกเลิกวันที่ 1 มกราคม 2568 ส่วนถนนพลับพลาไชย ผู้ค้า 12 ราย อยู่ระหว่างดำเนินการ ที่ผ่านมาเขตฯ ยกเลิกจุดทำการค้าไปแล้ว 8 จุด รวมผู้ค้า 128 ราย โดยผู้ค้าส่วนหนึ่งเข้าไปทำการค้าในอาคารพาณิชย์เอกชนบริเวณใกล้เคียง บางส่วนย้ายไปทำการค้าบริเวณตลาดส้ม ตลาดสะพานขาว โบ๊เบ๊ทาวเวอร์ ตลาดวรจักร คลองถมเซ็นเตอร์ อาคารแคปปิตอล เสือป่าพลาซ่า และอาคาร 555 ส่วนพื้นที่ทำการค้าจุดผ่อนผัน จำนวน 2 จุด รวมผู้ค้าทั้งสิ้น 52 ราย ได้แก่ 1.ถนนเจริญกรุง ตั้งแต่หน้าโรงพยาบาลกว๋องสิว ถึงแยกหมอมี รวมผู้ค้า 24 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 09.00-16.00 น. ผู้ค้า 12 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 18.00-24.00 น. ผู้ค้า 12 ราย 2.ถนนวรจักร ตั้งแต่หน้าบ้านเลขที่ 232 ถึง 90-92 รวมผู้ค้า 28 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 09.00-15.00 น. ผู้ค้า 25 ราย ช่วงเวลาทำการค้า 18.00-24.00 น. ผู้ค้า 3 ราย
พัฒนาสวน 15 นาที ลานกีฬาทรัพย์สินพัฒนา นางเลิ้งรวมใจ ตรอกนางเลิ้ง 1 ถนนกรุงเกษม ซึ่งเขตฯ ได้ปรับปรุงภูมิทัศน์ จัดวางม้านั่ง ตั้งวางไม้ดอกไม้ประดับ ปัจจุบันเขตฯ มีสวน 15 นาที จำนวน 7 แห่ง ได้แก่ 1.สวนหย่อมวงเวียน 22 กรกฎา พื้นที่ 1 ไร่ 1 งาน 2.สวนหย่อมจักรพรรดิพงษ์ พื้นที่ 9 ตารางวา 3.สวนหย่อมและลานกีฬาศูนย์สวัสดิภาพเด็ก เยาวชน และสตรี พื้นที่ 2 งาน 4.สวนริมคลองผดุงกรุงเกษม (แยกมัฆวาน-แยกเทวกรม) พื้นที่ 1 ไร่ 2 งาน 5.ลานกีฬาทรัพย์สินพัฒนา นางเลิ้งรวมใจ พื้นที่ 1 งาน 60 ตารางวา อยู่ระหว่างดำเนินการ 6.สวนหย่อมโรงเรียนวัดโสมนัส พื้นที่ 50 ตารางวา อยู่ระหว่างสำรวจพื้นที่ 7.สวนหย่อมท่าเรือผ่านฟ้า พื้นที่ 20 ตารางวา อยู่ระหว่างสำรวจพื้นที่ ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เขตฯ พิจารณาถึงความเหมาะสมในการใช้พื้นที่จัดทำสวน 15 นาที ให้ครบ 10 แห่ง ตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ออกแบบพื้นที่ภายในสวนให้ตรงตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนที่เข้ามาใช้บริการภายในสวนอย่างแท้จริง
เยี่ยมชมต้นแบบการคัดแยกขยะ ชุมชนวังแดง พื้นที่ 1 ไร่ มีประชากร 376 คน บ้านเรือน 143 หลังคาเรือน เข้าร่วมโครงการคัดแยกขยะ ตั้งแต่ปี 2567 วิธีการคัดแยกขยะ โดยจำแนกตามประเภทของขยะ ดังนี้ 1. ขยะอินทรีย์ โครงการคัดแยกขยะจากแหล่งกำเนิด เขตฯ จัดอบรมให้ความรู้เรื่องขยะอินทรีย์ให้กับชุมชนวังแดง การคัดแยกเศษอาหารออกจากขยะแต่ละประเภท โดยมอบถังขยะสำหรับใส่เศษอาหารให้กับชุมชน เปลี่ยนขยะเศษอาหารในครัวให้กลายเป็นปุ๋ย 2.ขยะรีไซเคิล เขตฯ จัดอบรมให้ความรู้ในการคัดแยกขยะรีไซเคิล เพื่อให้ทราบถึงประเภทของขยะรีไซเคิล เช่น แก้ว กระดาษ โลหะ อะลูมิเนียม พลาสติก สร้างจิตสำนึกร่วมกันในการคัดแยกขยะและเห็นถึงประโยชน์ของขยะรีไซเคิล ลดการใช้ขวดพลาสติกในชุมชนวังแดง 3.ขยะทั่วไป ตั้งจุดรองรับขยะทั่วไปของชุมชนวังแดง โดยจะนำไปรวบรวมส่งให้เขตฯ จัดเก็บ 4.ขยะอันตราย เขตฯ จัดอบรมให้ความรู้ในการคัดแยกขยะอันตราย เพื่อให้ทราบถึงประเภทของขยะรีไซเคิล เช่น หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย กระป๋องสีสเปรย์ กระป๋องยาฆ่าแมลง ขวดน้ำยาทำความสะอาดสุขภัณฑ์ ตั้งจุดรองรับขยะอันตรายรวบรวมส่งให้เขตฯ นำไปกำจัดตามวิธีที่เหมาะสม สำหรับปริมาณขยะก่อนและหลังคัดแยก ดังนี้ ขยะทั่วไปก่อนคัดแยก 1,000 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 800 กิโลกรัม/เดือน ขยะรีไซเคิลก่อนคัดแยก 70 กิโลกรัม/เดือน หลังคัดแยก 80 กิโลกรัม/เดือน ขยะอินทรีย์ก่อนคัดแยก 7 กิโลกรัม/วัน หลังคัดแยก 12 กิโลกรัม/วัน ทั้งนี้ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ให้คำแนะนำแก่ทางชุมชนเพื่อให้การคัดแยกขยะประเภทต่างๆ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งปริมาณขยะที่คัดแยกจะมีผลต่ออัตราจัดเก็บค่าธรรมเนียมในการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยฉบับใหม่
ในการนี้มี นายศุภกฤต บุญขันธ์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย สำนักเทศกิจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่และให้ข้อมูล
เศรษฐกิจดี #สิ่งแวดล้อมดี #สุขภาพดี
—– (จิรัฐคม…สปส.รายงาน)
Source : https://pr-bangkok.com/?p=457043
คุณเห็นด้วยกับข่าวนี้หรือไม่
ความคิดเห็น